อักษรวิ่ง
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
สมุนไพรพื้นบ้านทั้ง
10 ชนิด
ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้าน
ได้แก่
1. กระเพราแดง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ปวดท้อง ท้องอืด แก้ลมจุกเสียดแน่นท้อง ขับลมทำให้เรอเหมาะสำหรับเด็ก
2. ขิง มีรสเผ็ดร้อนหวาน สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน จากอาการเมารถ เมาเรือ
5. บัวบก สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้บัวบกแก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เป็นยาบำรุงและยาอายุวัฒนะ ช่วยเสริมสร้างความจำ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในคนพบว่าบัวบกมีฤทธิ์รักษาความผิดปกติของหลอดเลือดดำ ช่วยให้คลายกังวล รักษาแผลที่ผิวหนัง และรักษาแผลในทางเดินอาหาร
6. ฟ้าทะลายโจร มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการของโรคหวัด ให้ได้ผลดีต้องรับประทานทันทีเมื่อมีอาการ สำหรับข้อควรระวัง หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อห้าม ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจร
7. มะกรูด มีรสเปรี้ยว สรรพคุณผิวมะกรูด แก้อาการหน้ามืด วิงเวียน น้ำมะกรูด แก้ไอ ขับเสมหะ และใช้บำรุงเส้นผม
8. มะระขี้นก มีรสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร ผลมะระอ่อน ใช้รับประทานเป็นยาเจริญอาหารโดยการต้มให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ถ้าผลสุกสีเหลืองห้ามรับประทาน เพราะจะทำให้มีอากาคลื่นไส้อาเจียนได้
ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่า มะระขี้นกมีสารชาแรนตินช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
10. สะระแหน่ สรรพคุณบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ขับลม เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสมุนไพรใกล้ตัวมากมายเหล่านี้มีประโยชน์หาง่าย ใช้สะดวกและได้ผลดี
การจำแนกพืชสมุนไพร
1.การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์
1.1 น้ำมันหอมระเหย
พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสาระสำคัญ ที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุ ประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูป อื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดอาการอักเสบจากการฟกช้ำ น้ำมันกระวาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมน้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน
1.2 ยารับประทาน
พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร ชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น แก้ไข้ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพรา ไพล ขิง ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม
1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก
เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล ตำลึง เท้ายายม่อม เสลดพังพอน รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้ แก้งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน
1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่ม
พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผู้บริโภคจึงรู้สึกปลอดภัยในการนำมารับประทาน เช่น ดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก บุก เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดน้ำหนัก ส้มแขก เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ หญ้าหนวดแมว คำฝอย หญ้าหวาน
1.5 เครื่องสำอาง
เป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้อีกลักษณะหนึ่ง การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางมีมานานแล้ว และในปัจจุบันได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมาย เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องสำอางเช่น อัญชันว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ เป็นต้น
1.6 ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม ซึ่งมีคุณสมบัติในการปราบหรือควบคุมปริมาณการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม
สมุนไพรกำจัดหนอน
เถาบอระเพ็ด ลูก ควินนิน เมล็ดมันแก้ว เปลือกต้นไกรทอง
เถาวัลย์ยาง เถาวัลย์แดง ต้นล้มเช้า หัวขมิ้นชัน เมล็ดลางลาด ใบแก่ดาวเรือง ชะพลู
พลูป่า กานพลู ฝักคูนป่า ลูกยี่โถ ใบมะลินรก หัวกลอย ใบหนามขี้แรด ผล /
เมล็ดฝักข้าว สาบเสือ หางไหลขาว / แดง เปลือกต้นจิกสน / จิกแล เมล็ดสะเดา หนอนตาย-
หยาก หัวไพล เปลือก / ผลมัง ตาล เมล็ด / ใบ / ต้นสบู่ต้น เทียนหยด ใบยอ ยาสูบ ลำตาหนู ลูกสลอด
สมุนไพรไล่แมลง ใบผกากรอง ใบ / ดอกตูมดาวเรือง ใบยอ
หางไหลขาว / แดง ใบ / เมล็ดน้อยหน่า ใบมะระขี้นกต้นยาสูบ ยาฉุน
เปลือกว่านหางจระเข้ ใบ / เมล็ด / ต้นสบู่ต้น ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ใบ / ดอก /
ผลลำโพง ขิง ข่าดีปลี โหระพา สะระแหน่ พริกไทย กระชาย พริกสด ตะไคร้หอม / แกง
กระเทียม ใบมะเขือเทศ ยี่หร่า ทุเรียนเทศหัวกลอย เมล็ดละหุ่ง เมล็ดโพธิ์ ดอกแคขาว
ดอกเฟื่องฟ้า ดอกชบา ดอกยี่โถ มะกรูด สาบเสือ ว่านน้ำ ปะทัดจีน
สมุนไพรกำจัดโรค
( รา แบคทีเรีย ไวรัส ) ว่านน้ำ ลูก กะบูน ลูกค รัก ลูกเสม็ด สาบเสือ
สบู่ต้น ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก ลูกมะเกลือ เปลือกว่านหางจระเข้ เปลือกมะม่วง
หิมพานต์ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ใบยูคา ลิบตัส หัวไพล ใบ –
มะรุม ต้นกระดูกไก่ ชะพลู กานพลู
หัวขมิ้นชัน ลูกกล้วยอ่อน เปลือกงวงกล้วย ลูกย่อสุก ต้นเทียนหยด ใบหูเสือ พริกสด ราก – หมอน
ต้นแสยะ ใบมะเขือเทศ หน่อไม้สด ลูกหมากสด สะระแหน่
สมุนไพรเครื่องเทศ เป็นสมุนไพรในกลุ่มที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนประกอบอาหาร
โดยมากจะใช้ประโยชน์เพื่อการปรุงรสมากกว่าเพื่อต้องการคุณค่าทางอาหาร ถ้าหากแบ่งพืชผักสมุนไพรออกตามอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
พอจะแบ่งได้ดังนี้ สมุนไพร
เครื่องเทศ เมืองร้อน ได้แก่
สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-30
องศาเซลเซียส เช่น กระเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มี ปลูกแพร่หลายทั่วไปในบ้านเรา สมุนไพร เครื่องเทศ เมืองหนาว ได้แก่
สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็น มีอุณหภูมิระหว่าง 15-20
องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีปลูกทั่วไปในบ้านเรา
ยกเว้นในพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น และมีการสั่งเมล็ด พันธุ์เข้าทดลองปลูก
แต่จะมีการปลูกกันมากในต่างประเทศ สมุนไพรพวกนี้ได้แก่ เบซิล พาร์สเร่ย์ (
ผักชีฝรั่ง)
ประเภทของสมุนไพร
พืชสมุนไพรโดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
1. ราก 2.
ลำต้น 3. ใบ
3.ดอก 5.ผล
1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี
เช่น กระชาย ขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็น ต้น รูปร่างและลักษณะของราก
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่
นับว่าเป็นรากที่
สำคัญมากงอกออกจากลำต้นส่วนปลาย รูปร่างยาวใหญ่เป็นรูปกรวย
ด้าน
ข้างของรากแก้ว จะแตกแยกออกเป็นรากเล็ก รากน้อยและรากฝอยออกมา
เป็นจำนวนมาก
เพื่อทำการดูดซึมอาหาร ในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของ
ต้นพืช ที่มีรากแก้วได้แก่
ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
รากฝอย
รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายง
อกออกมาเป็นรากฝอยจำนวน
มากลักษณะรากจะกลมยาว มีขาดเท่าๆกัน
ต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น
หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
2.
ลำต้น เป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้
ได้ไม่ให้โค่นล้มลง โดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่บนดิน
แต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควรรูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง
บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบ ดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืชมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้น
พืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ต้นพืช ใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว ( สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า คอโรฟิลล์ อยู่ในใบของพืช) ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้นใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
3.1 ตัวใบ 3.2. ก้านใบ 3.3 หูใบ
ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึง
เป็นใบที่บนก้านใบหนึ่งมีใบเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
ชนิดใบประกอบ หมายถึง ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว เช่น มะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น
4. ดอก ส่วนของดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืช เป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอก มีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
1. ก้านดอก
2. กลีบรอง 3. กลีบดอก
4. เกสรตัวผู้ 5. เกสรตัวเมีย
คนละดอกก็ได้
มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน ออกไป
ตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง
ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน
แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน ผลเดี่ยวแบ่งออกได้เป็น ผลสด ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง ฟัก ผลแห้งชนิดแตกได้ เช่น ฝักถั่ว ผลรัก และผลเดี่ยวชนิดแห้งไม่แตก เช่น เมล็ดข้าว เมล็ดทานตะวัน
2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า กระดังงา สตอเบอรี่
3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด ขนุน มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
สมุนไพรพื้นบ้านทั้ง 10 ชนิด ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้าน ได้แก่ 1. กระเพราแดง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ปวดท้...