การจำแนกพืชสมุนไพร
1.การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์
1.1 น้ำมันหอมระเหย
พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสาระสำคัญ ที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุ ประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูป อื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดอาการอักเสบจากการฟกช้ำ น้ำมันกระวาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมน้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน
1.2 ยารับประทาน
พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร ชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น แก้ไข้ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพรา ไพล ขิง ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม
1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก
เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล ตำลึง เท้ายายม่อม เสลดพังพอน รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้ แก้งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน
1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่ม
พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผู้บริโภคจึงรู้สึกปลอดภัยในการนำมารับประทาน เช่น ดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก บุก เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดน้ำหนัก ส้มแขก เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ หญ้าหนวดแมว คำฝอย หญ้าหวาน
1.5 เครื่องสำอาง
เป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้อีกลักษณะหนึ่ง การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางมีมานานแล้ว และในปัจจุบันได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมาย เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องสำอางเช่น อัญชันว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ เป็นต้น
1.6 ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม ซึ่งมีคุณสมบัติในการปราบหรือควบคุมปริมาณการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม
สมุนไพรกำจัดหนอน
เถาบอระเพ็ด ลูก ควินนิน เมล็ดมันแก้ว เปลือกต้นไกรทอง
เถาวัลย์ยาง เถาวัลย์แดง ต้นล้มเช้า หัวขมิ้นชัน เมล็ดลางลาด ใบแก่ดาวเรือง ชะพลู
พลูป่า กานพลู ฝักคูนป่า ลูกยี่โถ ใบมะลินรก หัวกลอย ใบหนามขี้แรด ผล /
เมล็ดฝักข้าว สาบเสือ หางไหลขาว / แดง เปลือกต้นจิกสน / จิกแล เมล็ดสะเดา หนอนตาย-
หยาก หัวไพล เปลือก / ผลมัง ตาล เมล็ด / ใบ / ต้นสบู่ต้น เทียนหยด ใบยอ ยาสูบ ลำตาหนู ลูกสลอด
สมุนไพรไล่แมลง ใบผกากรอง ใบ / ดอกตูมดาวเรือง ใบยอ
หางไหลขาว / แดง ใบ / เมล็ดน้อยหน่า ใบมะระขี้นกต้นยาสูบ ยาฉุน
เปลือกว่านหางจระเข้ ใบ / เมล็ด / ต้นสบู่ต้น ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ใบ / ดอก /
ผลลำโพง ขิง ข่าดีปลี โหระพา สะระแหน่ พริกไทย กระชาย พริกสด ตะไคร้หอม / แกง
กระเทียม ใบมะเขือเทศ ยี่หร่า ทุเรียนเทศหัวกลอย เมล็ดละหุ่ง เมล็ดโพธิ์ ดอกแคขาว
ดอกเฟื่องฟ้า ดอกชบา ดอกยี่โถ มะกรูด สาบเสือ ว่านน้ำ ปะทัดจีน
สมุนไพรกำจัดโรค
( รา แบคทีเรีย ไวรัส ) ว่านน้ำ ลูก กะบูน ลูกค รัก ลูกเสม็ด สาบเสือ
สบู่ต้น ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก ลูกมะเกลือ เปลือกว่านหางจระเข้ เปลือกมะม่วง
หิมพานต์ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ใบยูคา ลิบตัส หัวไพล ใบ –
มะรุม ต้นกระดูกไก่ ชะพลู กานพลู
หัวขมิ้นชัน ลูกกล้วยอ่อน เปลือกงวงกล้วย ลูกย่อสุก ต้นเทียนหยด ใบหูเสือ พริกสด ราก – หมอน
ต้นแสยะ ใบมะเขือเทศ หน่อไม้สด ลูกหมากสด สะระแหน่
สมุนไพรเครื่องเทศ เป็นสมุนไพรในกลุ่มที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนประกอบอาหาร
โดยมากจะใช้ประโยชน์เพื่อการปรุงรสมากกว่าเพื่อต้องการคุณค่าทางอาหาร ถ้าหากแบ่งพืชผักสมุนไพรออกตามอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
พอจะแบ่งได้ดังนี้ สมุนไพร
เครื่องเทศ เมืองร้อน ได้แก่
สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-30
องศาเซลเซียส เช่น กระเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มี ปลูกแพร่หลายทั่วไปในบ้านเรา สมุนไพร เครื่องเทศ เมืองหนาว ได้แก่
สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็น มีอุณหภูมิระหว่าง 15-20
องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีปลูกทั่วไปในบ้านเรา
ยกเว้นในพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น และมีการสั่งเมล็ด พันธุ์เข้าทดลองปลูก
แต่จะมีการปลูกกันมากในต่างประเทศ สมุนไพรพวกนี้ได้แก่ เบซิล พาร์สเร่ย์ (
ผักชีฝรั่ง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น